วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติพันธุ์แมว

ประวัติพันธุ์แมว

แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือ สิงห์โต แมวเลี้ยง หรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมวสยาม บาลิเนส อะบิสสิเนียน และโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช ๑๘๗๑ ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก

การจัดจำแนกแมว (General taxonomy)

โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นอะไรคือการเพาะพันธุ์มืออาชีพ (What is professional breeding?)
การเพาะพันธุ์แมวเป็นอาชีพเป็นธุรกิจมีมีความซับซ้อนในต่างประเทศ แต่สำหรับในบ้านเรายังเป็นธุรกิจที่ยังไม่แพร่หลายนัก การเลี้ยงแมวยังมีไม่มากนัก และยังไม่นิยมเลี้ยงแมวพันธุ์ หลายคน หรือนักเพาะพันธุ์ในบ้านเรา (ทั้งสุนัขและแมว) คิดแต่เพียงว่า เราซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แท้มาและเริ่มผสมพันธุ์เท่านี้ก็ได้แมวพันธุ์แท้แล้ว แต่ในความเป็นจริงการเพาะพันธุ์แมวมีความต้องการอะไรมากไปกว่านั้น ต้องการความเข้าใจในพันธุกรรมที่เกี่ยวกับข้องกับพันธุ์นั้นๆ ต้องการรายละเอียดอื่นๆ เช่น ประวัติของพันธุ์ที่แท้จริงของคู่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นต้น ในบางครั้งแมวที่มีพันธุ์ประวัติดี ลักษณะดี เจ้าของอาจจะทำหมันเสีย หรือมีการขาย เพราะถือเป็นแมว "คุณภาพดี (pet quality)" ไม่ได้มีการเก็บไว้ในฐานผู้สืบทอดพันธุกรรม
ในความเป็นจริงจะพบมีแมวเพียงบางตัวเท่านั้นที่เกิดจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีตรงตามลักษณะพันธุ์ และควรนำไปใช้เป็นผู้สืบทอด หรือเป็นพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ แมวพวกนี้ถือเป็น แมวคุณภาพดี (show quality) และพบได้น้อยมากและมีราคาแพง นอกจากนี้นักผสมพันธุ์ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากพันธุกรรมและลักษณะด้วยที่เกิดจากพันธุกรรมประจำแมวแต่ละพันธุ์ด้วย เพื่อจะไม่คัดเลือกแมวที่มีลักษณะเหล่านั้นไปสืบทอดต่อไป
แมวพันธุ์แท้ มีลักษณะคล้ายๆ กับสัตว์พันธุ์แท้อื่นๆ คือ มีความอ่อนไหว หรือมีความไวโรคบางโรค และ ความเครียด ดังนั้นผู้เลี้ยงอาจจะต้องใช้งบประมาณและศึกษาหาความรู้ให้มากกว่าปกติ เพื่อทำให้สามารถดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแมวที่เราเลี้ยงให้ดีที่สุด ถ้าแมวนั้นต้องถูกนำไปเลี้ยงเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การดูแลในเรื่องที่อยู่อาศัยและอาหารจะต้องมีความพิเศษกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเพิ่มเติม ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในฟาร์มแมวที่เป็ฯมืออาชีพ
ผู้ที่คิดจะเข้าสู่ธุรกิจการเพาะพันธุ์แมว เพื่อหวังร่ำรวยคงต้องคิดให้ดี ถ้าเป็นมืออาชีพ ผลิตสินค้า (แมว) ให้มีคุณภาพ สำหรับในบ้านเราแมวพันธุ์ยังมีราคาค่อนข้างสูง การเพาะพันธุ์ยังไม่ถือว่าเป็นมืออาชีพ ความนิยมเลี้ยงแมวบ้านเราส่วนใหญ่เป็นแมวพันธุ์ผสม แมวพื้นเมือง และยังมีปัญหาแมวจรจัดอีกมากมาย
การประกวดแมว หรือแม้แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ เป็นการส่งเสริมให้คนนิยมเลี้ยงแมวและมีความภาคภูมิใจในแมวที่ตนเองเลี้ยง ไม่ได้ส่งเสริมให้ทุกคนต้องนำแมวเหล่านั้นไปเพาะพันธุ์ ในบ้านเราการประกวดแมวบางแห่งไม่ยอมรับแมวที่ผ่านการทำหมันแล้ว แต่แมวที่ตอนแล้วก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคให้ผู้เลี้ยงนำแมวไปประกวดเพื่อล่ารางวัลได้ หลายแห่งมีการประกวดโดยไม่มีเงื่อนไขของการตอน เช่น แมวแสนรู้ เป็นต้น คงต้องหารายละเอียดในสนามประกวดแต่ละแห่งต่อไป
พันธุ์แมว
แมวมีมากมายหลายพันธุ์
อะบิสสิเนียน (Abyssinian)
อเมริกันบ๊อบเทล (American Bobtail)
อเมริกันเคอล์ (American Curl)
อเมริกันไวร์แฮร์ (American Wirehair)
ออสเตรเลียนมิส (Australian Mist (Spotted Mist))
บาลิสเนส (Balinese)
เบงกอล (Bengal)
เบอร์แมน (Birman)
บอมเบย์ (Bombay)
บริติสช๊อตแฮร์ (British Shorthair)
เบอร์เมส (Burmese)
เบอร์มิลลา (Burmilla (Asian))
ชานติลลี (Chantilly (Tiffany))
ชาร์ตู (Chartreux)
คาเลอร์พอร์ยลองแฮร์ (Colorpoint Longhair (ดู ฮิมาลายัน (Himalayan))
คาเลอร์พอร์ยช๊อตแฮร์ (Colorpoint Shorthair (ดู แมวสยาม (Siamese))
คอร์นิชเร็ก (Cornish Rex)
ซิมริค (Cymric (ดู แมง (Manx))
ดีวอนไชร์เร็ก (Devonshire Rex)
อียิปเตียนมัว (Egyptian Mau)
เอ๊กโซติกช๊อตแฮร์ (Exotic Shorthair)
ฮาวานาบราวน์ (Havana Brown)
ฮิมาลายัน (Himalayan)
เจเปนนีสบ๊อบเทล (Japanese Bobtail)
จาวานีส (Javanese (ดู บาลิเนส (Balinese))
โคราช (Korat)
ลาเปอร์ม (LaPerm)
เมนคูน (Maine Coon)
แมง (Manx)
มึนคิน (Munchkin)
เนบีลัง (Nebelung)
นอร์เวเจียนฟอร์เรส (Norwegian Forest)
อ๊อกซิแคส (Ocicat)
ออเรียนตอลลองแฮร์/ช็อตแฮร์ (Oriental Longhair/shorthair)
เปอร์เซียน (Persian)
ปิซี่บ๊อบ (Pixie-Bob)
รากามัฟฟิ่ง (Ragamuffing)
แร๊กดอลล์ (Ragdoll)
รัสเซียนบลู (Russian Blue)
สก๊อตติสโฟลด์ (Scottish Fold)
เซลเกิร์กเร็ก (Selkirk Rex)
สยาม (Siamese)
ไซเบอร์เรียน (Siberian)
ซิงกะปูรา (Singapura)
โซโกเก (Sokoke)
โซมาลี (Somali)
สฟิงซ์ (Sphynx)
สปอตส์มิส (Spotted Mist (ดู ออสเตรเลียนมิส (Australian Mist))
ทิฟฟานี่ (Tiffany (ดู ชานติลลี (Chantilly))
ทอนกิเนส (Tonkinese)
เตอร์กิสแองโกลา (Turkish Angora)
เตอร์กิสแวน (Turkish Van)




แมวศุภลักษณ์








ลักษณะประจำพันธุ์ของแมวศุภลักษณ์ ในสายตาฝรั่งแล้วเข้าใจว่าแมวทองแดงเป็นแมวพม่า เนื่องจากปี พ.ศ. 2473 ดร.โจเซฟ ซี ทอมสัน ชาวอเมริกัน ได้นำแมวตัวเมียสีน้ำตาลจากประเทศพม่ากลับไปที่ซานฟรานซิสโก แล้วนำไปจดทะเบียน ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Burmese Cat หรือแมวพม่า นั่นเองและ เป็นแมวพันธุ์หนึ่งที่มีคนเลี้ยงกัน มากที่สุดในโลก แต่ในสายตาคนไทย ถือว่าแมวทองแดงเป็นแมวไทย เนื่องจากโครงสร้าง และลักษณะนิสัย เป็นแบบฉบับแมวไทย มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น พม่าได้กวาดต้อนคนไทยจำนวนหนึ่งไปเป็นเชลยศึกที่พม่าและมีแมวทองแดงตามเจ้าของเข้าสู่เขตแดนพม่าด้วย เนื่องจากเป็นแมวชั้นสูงเช่นเดียวกับแมวไทยพันธุ์อื่นๆ พวกขุนนางพม่า จึงนิยมเลี้ยงกัน พอพวกฝรั่งไปพบเข้าจึงเรียกเป็นแมวพม่าไป แมวทองแดงมีรูปร่างขนาดกลาง สง่า น้ำหนักตัวพอประมาณ ขายาวเรียว ฝ่าเท้าอวบ ศีรษะค่อนข้างกลมกว้าง สีขนออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายสีสนิม (สีทองแดง) แต่จะมีสีเข้มมาก ขึ้นบริเวณส่วนหูและในหน้า นัยน์ตาสีเหลืองอำพัน เป็นแมวที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ อยากรู้อยากเห็น ชอบผจญภัย รักอิสระเสรีเหนืออื่นใด ชอบสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว กับคนแปลกหน้าแล้วมันดูจะเป็นแมวที่ร้ายพอสมควร ปัจจุบันเมืองไทย หายากมาก แต่มีทั่วไปในอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งเขาได้พัฒนาผสมพันธุ์กัน จนได้แมวในลักษณะ และสีอื่นๆ มากมาย ทำนองคล้ายพันธุ์วิเชียรมาศที่แยกออกไปถึง 8 พันธุ์ ลักษณะสีขน... ขนสั้น สีน้ำตาลเข้มคล้ายสีสนิม (สีทองแดง) บริเวณส่วนหู ใบหน้า ปลายขา หาง จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆ ไป ลักษณะของส่วนหัว... ค่อนข้างกลมและกว้าง หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง หูใหญ่ ลักษณะของนัยน์ตา... แมวชนิดนี้จะมีดวงตาออกเป็นลักษณะเหลืองๆ หรือออกสีอำพัน หนวดของแมวศุภลักษณ์จะมีสีแวววาวเหมือนกับลวดทองแดงเลยทีเดียว ลักษณะของหาง... หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สมส่วนกับลำตัว ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์... ขนยาวเกินไป สีอ่อนเกินไป มีแต้มสีขาวปน เช่น ที่บริเวณหน้าอก หรือช่องท้อง มีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีลายเห็นเป็นทางตามลำตัว โดยเฉพาะตามใบหน้า ขาและหาง นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี






วิเชียรมาศ






เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มอบแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ ( OWEN GOULD) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษพากันเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น จนถึงขั้นตั้งเป็นสโมสรแมวไทยถึง 2 แห่ง นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ยังทรงมอบแมวไทยให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ เช่น อเมริกา จนทำให้แมวไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในสมัยนั้น แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ฝรั่งรู้จัก และตั้งชื่อว่า SIAMESE CAT หรือ SEAL POINT ( แมวแต้มสีครั่ง) อันเป็นแมวไทยต้นตระกูลที่ฝรั่งนำไปปรับปรุงสายพันธุ์ จนได้แมววิเชียรมาศลูกผสมต่าง ๆ อีก 8 ชนิด แมววิเชียรมาศ สายพันธุ์แท้ จะมีนัยตาสีฟ้าประกายสดใส ขณะอายุน้อยมีขนสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้น สีขนจะเข้ม เป็นสีน้ำตาล มีแต้มสีน้ำตาลไหม้อยู่ 9 แห่ง คือ ปลายจมูก 1 ปลายหูสองข้าง ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหาง 1, และที่อวัยวะเพศ 1 ( ทั้งเพศผู้และเพศเมีย) นับเป็นแต้มสีที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะเจาะน่าพิศวง แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นที่มักมีแต้มสีเลอะเทอะไม่เป็นที่ และเป็นลักษณะเด่นที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าจะนำไปผสมกับแมวพันธุ์อื่นจะได้แต้มสีตามร่างกาย ตามตำแหน่งเดียวกันเสมอ แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่าและอุปนิสัยจะไม่ถ่ายทอดไปยังลูกผสม แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณ ในสมุดข่อยยกย่องว่าเป็นแมวให้ลาภ เลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนัก ผู้ใดเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง ปัจจุบัน เรียกแมวพันธุ์นี้ว่า “ แมวเก้าแต้ม ” แต่เป็นแมวคนละชนิดกับแมวเก้าแต้มสมัยโบราณ ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว ลักษณะประจำพันธุ์แมววิเชียรมาศเป็นแมวที่ชาวต่างประเทศที่รู้จักกันในนามแมวสยาม ( Siamese) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นที่รู้จักกันในแถบสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ลักษณะที่จำเพาะของแมววิเชียรมาศ คือ สีน้ำตาล ลักษณะสีขน... ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ ( ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล ( สีลูกกวาด) ลักษณะของส่วนหัว... รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว ลักษณะของนัยน์ตา... นัยน์ตาสีฟ้า ลักษณะของหาง... หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) ของขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี


แมวขาวมณี (ขาวปลอด)







แมวขาวมณี (ขาวปลอด) เป็นแมวไทยพันธุ์แท้ดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่มากที่สุดในปัจจุบัน แม้แมวพันธุ์นี้จะไม่ได้ถูกบันทึกในสมุดข่อยโบราณ แต่สามารถหาหลักฐานได้ตามจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ ในเขต ธนบุรี เช่น ในอุโบสถวัดทองนพคุณ แมวขาวมณีเป็นแมวที่สวยงามมาก มีขนาดปานกลาง ขนสีขาวแน่นอ่อนนุ่ม พันธุ์แท้ต้องมีสีขาวปลอดทั้งตัว ศีรษะคล้ายรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่แบน หูใหญ่ตั้งสูงเด่น หางยาวปลายแหลมชี้ตรง ขายาวเรียวได้ส่วนกับลำตัว ดวงตามี 2 สี คือ สีฟ้า หรือ สีเหลืองอำพัน เมื่อเอาแมวขาวปลอด ตาสีฟ้าผสมกับแมวขาวปลอด ตาสีเหลืองอำพัน ลูกผสมที่ออกมาจะมีนัยตา 2 สี คือ ข้างหนึ่งตาสีฟ้า อีกข้างตาสีเหลืองอำพันเรียกกันว่า ODD EYES นิยมเลี้ยงเป็นคู่ เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน ถ้าลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จะเชื่องมาก เหมาะที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา ลักษณะประจำพันธุ์ของแมวขาวมณี ลักษณะสีขน... ขนสั้นแน่นและอ่อนนุ่ม สีขาวไม่มีสีอื่นปน สีผิวหนังเป็นสีขาวปลอดทั้งตัว ลักษณะของส่วนหัว... รูปร่างไม่กลม หรือแหลมเกินไป แต่คล้ายรูปหัวใจ ผน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูตั้งใหญ่ ลักษณะของนัยน์ตา... นัยน์ตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน ลักษณะของหาง... หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์...ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี